วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อีกครั้ง ...กับนกนางนวลที่บางปู

แบ่งปัน

หลังจากที่ได้เก็บภาพนกนางนวลที่บางปูมาฝากกันใน Entry ที่ผ่านมา ตั้งใจว่าจะต้องกลับมาที่บางปูเพื่อบันทึกภาพนกนางนวลอีกครั้ง
ครั้งนี้ประจวบเหมาะพอดีกับมีงาน Thailand Birds Fair ประจำปี 2010 นัดหมายเจอกันที่บูท OK Nature เจอ Blogger มากมายนักอยู่ก่อนแล้ว
พี่แป๋ม (พี่สาวกระผม) , คุณวันศุกร์ ,และ คุณมิ้นท์ ที่เคยไปทุ่งดอกกระเจียวด้วยกัน พี่ชาลี BG คุณป่าน BG อังศนา BG ป้ารุ BG ย่าดา BG ศุภาวัลย์ ,BG พี่นิด  (ไม่ลืมใครแล้วเนอะ)
พอแดดร่มหน่อยก็พากันไปถ่ายรูปนกนางนวล ผมเกาะติดเพื่อนๆนักดูนก ได้ความรู้เรื่องนกมามากมาย จากตอนแรกที่รู้จักนกนางนวลธรรมดาอย่างเดียว คุณป่านชี้ให้ดูนกหายาก 2 ตัวในทันทีที่พบ
นกนางนวลขอบปีกขาว และ นกนางนวลปากเรียว   เท่านั้นแหละพวกเรารวมถึงนักดูนกจากกลุ่มอื่นๆก็ยืนเรียงหน้ากระดานกันทันที ทุกสายตามองหานก 2 ชนิดนี้ พลางชี้ชวนให้ดูเป็นถ่ายรูปกันไม่ยั้ง
นกนางนวลอาจจะดูธรรมดาสำหรับใครหลายคน เช่นกันครับ ตรงกันข้าม สำหรับใครหลายๆคนรวมถึงตัวผมเองด้วย นกนางนวลที่ดูธรรมดาๆ แต่ที่จริงแล้วนั้น มีความสวยงามอยู่ ความสวยงามที่หลายคนมองข้าม
และผมไม่แปลกใจเลยว่า ขณะที่ยืนถ่ายรูปนกนางนวลปากเรียวอยู่นั้น หลายๆคนจะบอกสั้นๆว่า "สวยมาก ๆ ๆ " ซ้ำอยู่อย่างนั้น


.

"นางนวล" ปีกอิสระแห่งบางปู

แบ่งปัน




ต้นฤดูหนาวพร้อมกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชุ่มน้ำบางปูจะเปี่ยมชีวิตชีวาด้วยเหล่าผู้มาเยือน ซึ่งเดินทางไกลมาจากแผ่นดินตอนเหนือที่สร้างสีสันให้กับบางปู ก็คือ นกนางนวลธรรมดา (Brown-headed Gull)
จากการสำรวจโดยองค์การพื่นที่ชุ่มน้ำนานาชาติประจำประเทศไทย และสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย พบว่า "บางปู" มีนกนางนวลธรรมดาอาศัยอยู่ตลอดฤดูหนาวไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว อาจกล่าวได้ว่า เป็นพี้นที่ ที่มีการรวมกลุ่มของนกนางนวลธรรมดารมากที่สุดที่พบในแถบอ่าวไทยตอนใน

๏’ ทีลอซู น้ำตกในฝัน ของนักผจญภัย `๏’

แบ่งปัน

หน้าฝนอย่างนี้ หลายคนคงไม่อยากไปเที่ยวไหนให้ฝนรบกวนอารมณ์ใช่ไหมล่ ะ แต่ช่วงโลว์ซีซั่นอย่างฤดูฝนนี่แหละที่เขาว่าน้ำตกจะ สวยที่สุด โดยเฉพาะน้ำตกทีลอซู ที่หลายคนใฝ่ฝันอยากไปเยือนให้ได้สักครั้งนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กอซอรีสอร์ท&สปาหัวหิน

แบ่งปัน


กอซอ เป็นคำท้องถิ่นของเมืองหัวหิน หมายถึง กอไผ่ กอซอรีสอร์ทแอนด์สปา เป็นบ้านพักส่วนตัวริมทะเลสาบท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยขุนเขาและแมกไม้ ผสานกับการออกแบบที่ลงตัว ตั้งอยู ณ อำเภอหัวหิน ถิ่นมนต์ขลัง ร่มรื่นเย็นสบายด้วยต้นไม้ใหญ่หลากหลายพันธ์แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาปกคลุมทั่วบริเวณ ณ ดินแดนแห่งนี้ เงียบสงบเพียง 10 นาที จากตัวเมืองหัวหินและเดินทางสะดวกจากกรุงเทพ สุดยอดบูติคโฮเท็ล ระดับ 4 ดาว แห่งนี้มี นำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกชั้นยอดมากมาย ชั้นยอดมากมายไว้ค่อยบริการแก่ แขกผู้เข้าพัก ภายในห้องพักทั้ง 20 ห้อง โดยมี เครื่องปรับอากาศ, ภาพยนตร์ชมในห้องพัก โรงแรมในหัวหิน / ชะอำแห่งนี้ ยังมี ที่จอดรถ , บริการนวด เพื่อเติมเต็มการพักผ่อนของคุณให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ นับตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2009 โรงแรมแห่งนี้ได้ผสมผสานบริการชั้นหนึ่งและนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกชั้นยอดมากมาย เข้าไว้ด้วยกัน

ย่างใกล้เข้าหงสา

แบ่งปัน

"พี่เอส หนิงจะไปพม่า" ตัวอักษรโผล่แม๊ะขึ้นมาบนหน้าจอ MSN
"ไปกับใครหละ" ฉันถามกลับไป
"ไปคนเดียว"
อ้าวอะไรของเอ็ง ฉันสงสัยระคนเป็นห่วงน้องสาวที่เคยร่วมเดินทางกันมาหลาย Trip ทั้ง Trip สุดโหดโครตเหี้ยมที่อินเดียยังจำฝังใจไม่มีจาง
"ไปทำห่าอะไรคนเดียว" ฉันถามแกมด่าประชด
"แหม๋ ไปเที่ยวสิเจ๊ หนิงจองตั๋วเครื่องบินได้ถูก แอร์เอเซีย 399 บาทเอง เจ๊ไปมั้ย"
แม้นว่า "หนิง" เพื่อนรุ่นน้องร่าง (เกิน) อวบ ของฉันจะเดินทางมานักต่อนักแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่คณะ หรือเดินเดียว ฉันก็อดที่จะเป็นห่วงเธอไม่ได้อยู่ดีในประเทศที่เราไม่คุ้นเคย แถมเป็นสังคมนิยมอีกต่างหาก แม้นจะเคยมีคนไปเที่ยวพม่ามาบ้างแล้วในช่วงที่ตั๋วเครื่องบิน ๆ ไปย่างกุ้งถูกเสียยิ่งกว่านั่งรถทัวร์ แต่ผู้หญิงตัว (ไม่) เล็กคนเดียว จะไปเที่ยวอย่างนั้นได้อย่างไร
"จองตั๋วให้ด้วย เดี๋ยวโอนเงินไปให้"
เร็วกว่าความคิดด้านบนจะคิดจบ ฉันคีย์ตอบมันไปแล้ว ไม่นานเกินรอ สาวน้อยของฉันก็ตอบข้อความมาตามสายแลน
"เรียบร้อยเจ๊" เธอนิ่งไปซักพัก แล้วก็ตอบกลับมาอีกว่า "แต่ขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์นะ"
"อ้าวอีบ้าหนิง ทำไมไม่บอกแต่แรกเฮ้ย แล้วจะไปขึ้นยังไงที่กัวลาลัมเปอร์"
ฉันโวยวายขึ้นมาทันที ถ้ามันมานั่งอยู่ข้างหน้ามีโอกาสหูดับ
"แหม๋เจ๊ จะยากอะไร เจ๊ก็ขึ้นรถไฟชั้น 3 ไปกับหนิง ไปเที่ยวบ้านหนิงก่อน แล้วค่อยนั่งรถไปลงกัวลาลัมเปอร์กัน"
มันพูดเหมือนกัวลาลัมเปอร์อยู่สนามหลวง แวะกินข้าวบ้านมันที่นราธิวาสก่อนแล้วค่อยไปต่อป๊าดดดด
"เมิงหาตั๋วจาก BKK ไปกัวลาให้กรูเลยไอ้หนิง เอาถูก ๆ ด้วย" ประกาศิตเล่มได้ออกตัว
"งั้นรอมันโปรก่อนเจ๊ ตอนนี้ยังไม่มี เดี๋ยวมีแล้วจะจองให้"

มหานครเซี่ยงไฮ้..ความสวยไม่เคยเหมือนเดิม

แบ่งปัน

หากพูดถึงการบินข้ามน้ำข้ามทะเลออกท่องเที่ยวต่างประเทศ
เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองแรกที่ผมได้กลับมาเที่ยวเป็นครั้งที่สอง
และการมาเที่ยวเมืองเดิมในต่างแดนที่ไม่ใช่แผ่นดินแม่ในสองช่วงเวลาที่ห่างกัน
มันพอจะทำให้ได้ฉุกคิดอะไรมากมาย
เมื่อได้มีโอกาสเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของมหานครแห่งนี้...
มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวโลก
กับคนไทยยิ่งคุ้นเคยในชื่อเสียงของเมืองนี้
โดยเฉพาะคนที่เติบโตขึ้นมาในยุคที่หนังเรื่องเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้กำลังโด่งดัง
แม้จะเป็นเมืองที่สร้างมาทีหลัง
แต่ "เซี่ยงไฮ้" ในปัจจุบันได้กลายเป็นมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน
ทั้งยังเป็นมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก
ใครไปเซี่ยงไฮ้ในทุกวันนี้
เมื่อเห็นเมืองใหญ่แห่งนี้เต็มสองตา
มันยากจะเชื่อได้ว่า  เดิมที่นี่เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงชายทะเล
เป็นหมู่บ้านปากอ่าวเล็กๆสำหรับเป็นจุดพักเพื่อหลบคลื่นลมมรสุม...

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลอยกระทงสวรรค์ที่พระธาตุดอยกองมู

แบ่งปัน
หมูหิน.คอม พาเที่ยวลอยกระทงสวรรค์ที่พระธาตุดอยกองมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ประเพณีอันดีงามของเมืองสามหมอกที่มีแห่งเดียวในโลก  ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น  หมูหิน.คอม
          นายหมูหินพาเที่ยวพระธาตุดอยกองมู  มาแอ่วลอยกระทงสวรรค์  ที่นี่ที่เดียวในโลก  ประเพณีอันดีงามนี้สืบทอดมายาวนาน ตั้งแต่ปี พ..2403 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่เลยครับ  "พระธาตุดอยกองมู" เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและอยู่คู่บ้านคู่เมืองของชาวแม่ฮ่องสอน  คนเมืองสามหมอกนี้ให้ความสำคัญกับพระธาตุดอยกองมูเป็นอย่างมาก  และงานลอยกระทงสวรรค์นี้ก็เป็นงานประจำปีที่ทุกๆคนมาเที่ยวกัน  และจะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง  ช่วงเทศกาลลอยกระทงของไทยเรา  แต่เค้าจะจัดอยู่บนเขาเท่านั้นเอง  เนืองจากว่าเป็นกระทงสวรรค์  ใน 1 ปีจะจัดอยู่ 5 วันโดยประมาณ  หากใครที่สนใจและอยากไปสัมผัสบรรยากาศของการลอยกระทงสวรรค์  ก็สามารถสอบถามข้อมูลได้จากการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนได้ว่าในแต่ละปีเค้าจะจัดวันไหน วันที่เท่าไหร่ กันบ้างเพราะแต่ละปีอาจจะจัดไม่ตรงวัน  เพราะต้องดูวันเพ็ญเดือน 12 ด้วย
 
          วัดพระธาตุดอยกองมูมีชื่อเรียกเดิมๆตั้งแต่สมัยไหนมาแล้วว่า  "วัดปลายดอน" แต่คำนี้เป็นภาษาเหนือล้านนาที่แปลเป็นภาษากลางที่เราๆพูดกันอยู่ว่า "วัดที่อยู่ปลายภูเขา"  นั่นเอง  เพราะคำว่า"ดอน" แปลว่าเนินหรือภูเขา  และพระธาตุดอยกองมูจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน  หากใครที่อยากดูพระอาทิตย์ตกดินก็สามารถมาดูได้ที่นี่   พระธาตุดอยกองมูมีอยู่ 2 พระธาตุด้วยกันคือพระธาตุเจดีย์องค์เล็ก  และพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่  และมีความสวยงามไม่แพ้กันเชียว 
คลิปวีดีโอลอยกระทงสวรรค์พระธาตุดอยกองมู 

          หากเราขึ้นไป "วัดพระธาตุดอยกองมูนี้  เราก็สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้ชัดเจน(ชัดเจนกว่าที่เราเดินไปหมู่บ้านกระเหรี่ยงที่ถนนเข้าไม่ถึง อิๆ)  หรือหากใครที่อยากจะชมแสงไฟของเมืองเล็กและสงบ ที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาอย่างเมืองแม่ฮ่องสอนก็สามารถดูได้จากที่นี่ "วัดพระธาตุดอยกองมู" นี้ แต่ทางขึ้นจะคดเคี้ยวและชันมาก  แต่ลาดยางแล้วนะครับ ความยาวของถนนก็ 5 กิโลเมตรโดยประมาณ  แต่ถ้าหากใครที่ไปช่วงที่มีงานเทศกาลต่างๆบนพระธาตุดอยกองมู  หมูหิน.คอม ขอแนะให้นั่งรถสองแถวขึ้นไปดีกว่า  โดยเฉพาะเวลากลางคืน  ปลอดภัยและไม่ทำให้การจราจรติดขัดบนพระธาตุดอยกองมู  หากเราขับรถไปก็ฝากรถไว้กับพี่ที่ขับสองแถว ขึ้นลงๆได้  ค่าโดยสารขึ้นลงก็อยู่ที่เที่ยวละ 10 บาท/คน นำหากใครที่ไปก็ขับระวังๆหน่อยก็แล้วกันนะครับ  หรือหากใครที่ไม่มีโอกาสไปก็ลองดูรูปที่เราเก็บมาฝากกันไปก่อน  แต่วันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์หรือว่าตักบาตรเทโว ตามทางลงเขาจากพระธาตุดอยกองมูลงมาถึงตีนดอย อย่างที่ชาวล้านนาเค้าเรียกกัน  หากใครที่สนใจอยากร่วมทำบุญก็ไปกันได้ที่พระธาตุดอยกองมู จ.แม่องสอนก็หาเวลาว่างมากันได้เลย  แต่ปรกติแล้ว  ทางการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนเค้าได้มีการจัดทริปแบบ one day trip โดยมีการไหว้พระเก้าวัดภายในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน
          และก่อนจะถึงงานเทศกาลลอยกระทงสวรรค์  พระภิษุและสามเณรก็จะทำกระทงสวรรค์ออกมาจำหน่าย  เพื่อให้เป็นรายได้เข้าวัดพระธาตุดอยกองมู  โดยที่ลอยกระทงสวรรค์นี้มีรูปร่างไม่เหมือนกระทงที่เราลอยในน้ำ  เพราะลอยกระทงสววรค์จะต้องลอยขึ้นบนฟ้า  จึงมีการประดิฐษ์จากลูกโป่งอัดแกสเพื่อที่จะได้ลอยขึ้นสวรรค์  และเอาเชือกมาผูกกันกระทงที่ทำมาจากกระดาษษา ลวด และโฟม  แล้วก็จะมีเทียนเล่มเล็กๆ  อยู่ตรงกลางกระทง ความยาวของเที่ยวก็ประมาณ 1 นิ้ว เป็นมินิเทียนก็ว่าได้  กระทงสวรรค์จะขายอยู่ที่ 20บาท/กระทง  มีลูกโป่งหลายสีให้เลือก  หมูหิน.คอม ขอแอบแนะนำทริกการเลือกสีอยู่หน่อยนะครับ  คือหากว่าเราเลือกสีสดๆ  เวลาเราลอยขึ้นท้องฟ้าจะเห็นเด่นชัดมาก (เราก็เลยเลือกสีส้มอิๆ) เพราะเวลากระทงสวรรค์ลอยขึ้นไปบนฟ้าแล้วก็จะมีแสงสวางจากเทียน  จึงทำให้เราได้เห็นสีสันอันงดงามของกระทงสวรรค์ที่ลอยลิ่วเป็นเส้นสายของกระทงสวรรค์อยู่บนฟ้าหลากหลายสี  หลากหลายลูกด้วยกัน  จึงทำให้สีสันในการลอยกระทงสวรรค์เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ที่ได้เห็นได้ชม  และนี่เองก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของเมืองสามหมอกที่  หมูหิน.คอม ได้นำเสนอเรื่องราวดีๆ
 
 
          แต่ที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ "'งานวัด" ฮั่นแน่ไม่มีใครที่จะปฎิเศษได้ว่าไม่มีใครรู้จัก  เพราะเป็นงานที่อยู่คู่คนไทยมานานแสนนาน  แน่ล่ะครับ  ผม(นายหมูหิน)เที่ยวมาตั้งแต่เด็ก  จนวันนี้ที่ผมมีงานทำ มีภรรยาที่น่ารัก ผมก็ยังเที่ยวงานวัดอยู่ และวันนี้ผมเองก็ได้พา ชาวหมูหิน.คอม มาเที่ยวงานวัดที่พระธาตุดอยกองมู  ที่นี่เป็นงานวัดเล็กๆไม่ใหญ่เหมือนที่อื่น  เพราะด้วยเนื้อที่อันจำกัด  จึงทำให้งานวัดที่นี่น่าเที่ยวมากไม่มีวัยรุ่นกวนเมือง  คนไม่จอแจ  และเรียบง่าย  มีเกมส์ให้เล่นอยู่แค่อย่างสองอย่าง  มีขนมนมเนยขาย  ปลาหมึกไม้ละ 2 บาท น้ำเขียว น้ำแดงถุงละ 5 บาท   ไส้กรอก  ลูกชิ้นไม้ละ2 บาท 5 บาท  แบบฉบับงานวัด  อาจจะเป็นเพราะวัฒนธรรมของชาวล้านนาด้วยที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายจึงทำให้ที่นี่ไม่มีความวุ่นวายเข้ามามากนัก  คนพื้นที่ก็มาเที่ยวเล่นดูลิเก ดูเสร็จก็กลับบ้านนอน  นี่แหละครับที่ผม(นายหมูหิน)ดั้นโด้นเก็บข้อมูล รูปภาพและวีดีโอมาฝากเพื่อนนักท่องเที่ยวหมูๆและหินๆ
 
          หมูหิน.คอม ขอสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามให้อยู่คู่เมืองไทยไปอีกยาวนาน  และเราชาวทีมงาน  หมูหิน.คอม  จะพยายามเก็บเรื่องราวดีๆในแง่มุมของการท่องเที่ยวเชิงบวกของไทยให้ยั่งยืนและยาวนาน   เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด  แก่ผู้เข้าชมเว็บไซน์ของเราครับ.....นายหมูหิน
         ติดตามเรากันต่อไปเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานท่องเที่ยวแบบหมูๆและแบบหินๆเพื่อเราจะได้เก็บร้อยเรื่องราวการท่องเที่ยวที่เรารักมาฝากทุกคนชาว  หมูหิน.คอม  
         หากต้องการติชมเว็บสามารถติดต่อมาได้ที่นี่เลยครับ e-mail : webmaster@moohin.com
 
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหมูหิน.คอม

อลังกาลโคมไฟยี่เป็งล้านนา

แบ่งปัน

ถึงเทศกาลประเพณีลอยกระทงประจำปี 2550 นี้ ข่าวคราวกิจกรรมการลอยกระทงก็มีการจัดอยู่ทั่วทุกจังหวัด ไม่ได้หมายความว่าประเพณีการลอยกระทง ไม่ได้อยู่เพียงแค่จังหวัดสุโขทัย หรือเชียงใหม่ ทุกภาคทุกจังหวัดก็มีการจัดกิจกรรมลอยกระทงทุกแห่งพร้อมกัน อาจแตกต่างกันในเนื้อหาและรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละจังหวัด หรือประเพณีดั้งเดิมที่มาช้านาน
คลิปวีดีโอลอยโคมยี่เป็ง

p> ความหมายของการลอยกระทง ในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ลอยทุกข์ลอยโศก เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น
สำหรับคนไทยได้จัดเป็นประเพณีที่สำคัญประจำปี มีอยู่ทุกจังหวัด แต่ที่มีชื่อเสียงก็เป็นประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่สุโขทัย งานประเพณีลอยกระทงสาย จังหวัดตาก หรืองานประเพณียี่เป็ง ทางภาคเหนือ ซึ่งจะมีรูปแบบการลอยที่แตกต่างกัน ตั้งแต่โคมบนดิน กระทงตามผืนน้ำ และโคมลอยสู่ท้องฟ้า
  
 วันเพ็ญเดือนสิบสองที่เชียงใหม่ที่ทุกคนต่างทราบข่าวกันมาว่า จะมีงานปล่อยโคมลอยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นโดยธุดงคสถานล้านนา เป็นสาขาแห่งหนึ่งของวัดธรรมกาย อยู่ที่แม่โจ้ ดังนั้นเราจึงมุ่งหน้าสู่พุทธสถานแห่งนี้ตั้งแต่เที่ยงวัน เพื่อเก็บข้อมูล เตรียมแผนการถ่ายภาพ พร้อมกับถ่ายภาพกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่ทางสำนักธุดงคสถานล้านนาเข้าได้จัดขึ้น ซึ่งมีทั้งการเปิดพิธี โดยมีริ้วขบวนอัญเชิญผ้าไตร พิธีทอดกฐินสามัคคี เมื่อเสร็จแล้วจะหยุดพักชั่วคราว จะมีงานเริ่มพิธีภาคค่ำ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จุดประทีปโคมไฟ, เวียนเทียน,ปล่อยโคมยี่เป็ง
ความมุ่งหมายการเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ เพื่อต้องการบันทึกภาพเรื่องราวของ การลอยโคมยี่เป็ง อันเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก และจัดอย่างยิ่งใหญ่ในที่แห่งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยประทีปโคมลอย ประดุจดั่งว่าหมู่โคมเหล่านี้ แทนดวงใจความเลื่อมใสดีแล้วต่อพระผู้มีพระภาค มีจิตใจสว่างบริสุทธิ์ เพื่อนำส่งขึ้นไปสู่สวรรค์และเชื่อมต่อสู่แดนอมตะพระนิพพาน
เข้าไปในพื้นที่บริเวณวัดจะเห็นพื้นที่การจุดดวงประทีปและการปล่อยโคมลอย คาดว่าคงมีนับพันดวง เราจินตนาการภาพ พอออกว่าภาพที่ออกมาจะเป็นเยี่ยงไร ดังนั้นจึงต้องรีบจับจองหามุมภาพ วางมุมกล้องให้แน่นอนที่สุด ทำเลที่ดี เราเลือกอยู่บนโบสถ์ ตอนแรกจะอยู่บนโบสถ์ บันไดใหญ่ แต่ถูกช่างภาพสิงคโปร์จองกันบ่ายสอง เราจองไม่ได้ จึงต้องไปเลือกมุมอื่น เป็นบันไดข้าง ก็สามารถมองเห็นบริเวณพิธีได้จัดเจน รู้สึกว่ามุมบนไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะช่างภาพแต่ละคน ไปติดกับภาพเก่าๆ คนกำลังลอยโคม เห็นไปเดินป้วนเปี้ยนตามทุ่งโคมไฟเต็มไปหมด หรือมุมสูงอื่นๆ ก็ไม่มีพื้นที่ให้อีกแล้ว มุมสูงจะมีมิติกว่ามองเห็นดวงประทีป โคมไฟ เป็นทุ่งกว้าง จังหวะ ลอยขึ้นก็ดี แลดูเต็มเฟรมไปเลยถือว่าสุดยอด
คลิปวีดีลอยโคมยี่เป็ง 

สรุปว่าเป็นมุมที่ดีตั้งใจว่า พอลอยโคมขึ้นไปแล้ว จะลงไปถ่ายมุมล่าง แบบช้อนขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ค่อยเข้าท่า เพราะไม่ได้เซ็ทถ่าย เลนส์ก็ไม่กว้างพอ จังหวะเดียวกันที่กำลังลอยโคมขึ้นฟ้า ก็มีการยิงพลุขึ้นมา น่าเสียดายมาก ถ่ายไม่ได้เลย เพราะไม่รู้มุม ไม่รู้จังหวะ แต่ถ้าอยู่บนโบสถ์ รับรองว่าได้ภาพพลุแน่นอน
ภาพความตื่นตาตื่นใจกับการลอยโคมขึ้นฟ้าในจังหวะที่พร้อมกัน จะเป็นภาพอันอลังการอย่างยิ่ง เราต้องตะลึงถึงกับชะงักเมื่อเห็นภาพโคมลอยขึ้นพร้อมกันอย่างหนาตา เพราะไม่เคยเห็นภาพอย่างนี้มาก่อน จนแทบไม่อยากกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ จะขอชมภาพให้เต็มตาเต็มใจสักนาทีหนึ่ง

  
แต่สภาพเหตุการณ์อย่างนี้ ช่างภาพอย่างเราก็ไม่อาจทนความเร้าใจ ก็กดชัตเตอร์อย่างไม่ยั้งเช่นกัน ทั้งกล้องฟิล์มสไลด์ และกล้องดิจิตอล เสร็จสิ้นกิจกรรมลอยโคมยี่เป็ง เราจะเห็นว่าคนจะมีใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม พกพาความอิ่มสุขกลับบ้าน แม้ว่ารถราจะติดแต่ก็ไม่บ่น เพราะบ่นไปก็ช่วยอะไรไม่ได้ครับ
ปีหน้า.....พบกันใหม่น่ะครับ
 

"ประเพณียี่เป็ง"
เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬ ามณี บนสรวงสวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต
"ประเพณียี่เป็ง" คือ ประเพณีในเทศกาลวันเพ็ญ  เดือน  ๑๒ ซึ่งแต่เดิมนั้นพิธีสำคัญของเทศกาลนี้อยู่ที่พิธีกรรมตั้งธรรมหลวงหรือฟังเทศน์มหาชาติ  ชาวบ้านจะมีการประดับประดาวัดวาอารามบ้านเรือน ด้วยประทีปโคมไฟ โคมระย้า ทำอุบะดอกไม้ไปถวายวัด ทำซุ้มประตูป่าด้วยต้นกล้วย อ้อยก้านมะพร้าว เตรียมข้าวปลาอาหารเป็นพิเศษ เช่น ห่อนึ่ง แกงอ่อม แกงฮังเล ลาบ และขนมต่าง ๆ ไปทำบุญ บางแห่งมีพิธีกวนข้าวมธุปายาสหรือบ้างเรียก ข้าวพระเจ้าหลวง ถวายเป็นพุทธบูชาในตอนเช้ามืดของวันเพ็ญเดือน  ๑๒  นี้ด้วย จากนั้นก็จะมีการทานขันข้าวหรือสำรับอาหารไปถึงบรรพชนคนตาย ถวายอาหารและกัณฑ์เทศน์แด่พระภิกษุสงฆ์ และมีการฟังธรรมมหาชาติตั้งแต่เช้าถึงกลางคืน บางแห่งก็จะมีการสืบชะตาด้วย   จะมีการปล่อยโคมลอย  เรียกว่า "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ในช่วงพลบค่ำจะมีการเทศน์ธรรมชื่อ  "อานิสงส์ผางประทีส" และชาวบ้านจะมีการจุดประทีสหรือประทีป โคมหูกระต่าย โคมแขวน  เป็นพุทธบูชากันทุกครัวเรือนสว่างไสว หนุ่มสาวก็จะมีการเล่นบอกไฟ แข่งขันบอกไฟ และปล่อยว่าวไฟ
คำว่า “โคมลอย” นี้แปลได้ง่ายๆ ว่าเครื่องใช้ที่ให้กำเนิดแสงสว่างลอยตัวอยู่ ซึ่ง “โคม”ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ อาจลอยอยู่ได้ทั้งในน้ำและในท้องฟ้าก็ได้ทั้งสองกรณี แต่ในที่นี้จะเริ่มกล่าวถึง “โคมลอย”ที่ลอยอยู่ในน้ำหรือลอยไปตามสายน้ำเสียก่อน
“โคมลอย” นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในเทศกาลลอยกระทง เมื่อต้องการทราบความหมายของคำนี้ให้เป็นที่แน่นอนชัดเจนลงไป ก็ต้องไปดูจากต้นตำรับที่ว่าด้วยการลอยกระทง ซึ่งก็คือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ และจากเอกสารชื่อนี้ฉบับที่กรมศิลปากร อนุญาตให้ศิลปาบรรณาคารพิมพ์จำหน่ายครั้งที่ ๑๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ หน้า ๙๖ บอกว่าในวันเพ็ญเดือนสิบสองนั้นจะมีพระราชพิธีจองเปรียง ซึ่งเป็น “นักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม” ที่มีการเฉลิมฉลองกันถึงสามวัน ครั้งหนึ่ง นางนพมาศได้ประดิษฐ์โคมลอยเป็น “…รูปดอกกระมุท(ดอกบัว) บานกลีบรับแสงพระจันทร์ ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ(กงเกวียน) …“ และประดับด้วยดอกไม้และผลไม้สลักเป็นรูปนกจับอยู่ตามกลีบดอกบัว ซึ่ง “พระร่วง” ก็พอพระทัยมาก “… จึ่งมีพระราชบริหารบำหยัดสาปสรรว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียงแล้ว ก็ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทบานก็ปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป… “ (น.๙๙–๑๐๐)
 
จากความที่ยกมานี้สรุปได้ว่า โคมลอย ก็คือกระทงทรงประทีป หรือกระทงที่รองรับประทีปซึ่งจุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ เมื่อดูจาก พระราชพิธี ๑๒ เดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดยแพร่พิทยา ฉบับที่พิมพ์ครั้งที่สิบสาม พ.ศ. ๒๕๑๔ ในตอนที่กล่าวถึงพระราชพิธีจองเปรียงนั้น ทรงระบุว่าพระราชพิธีในเดือน ๑๒ ซึ่งมีมาในกฎมณเทียรบาลว่า พิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคมนั้น “… มีความแปลกออกไปนิดเดียวแต่ที่ว่าการพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคม และเติม “ลงน้ำ” เข้าอีกคำหนึ่ง … การก็ตรงกันกับลอยกระทง ลางทีจะสมมติว่าลอยโคม …” (น.๘) และทรงกล่าวต่อไปว่า “.. การที่ยกโคมขึ้นนั้นตามคำโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม การซึ่งว่าบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามนี้เป็นต้นตำราแท้ในเวลาถือไสยศาสตร์ แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนาก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในดาวดึงสพิภพ และบูชาพระพุทธบาทซึ่งปรากฏอยู่ ณ หาดทรายเรียกว่า นะมะทานที เป็นที่ฝูงนาคทั้งปวงสักการบูชาอยู่..” (น.๙)
 
ในพระราชพิธี๑๒ เดือนยังระบุต่อไปว่าในเดือนสิบสองนี้มีการลอยพระประทีปด้วย โดยทรงอธิบายว่า “… การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทั่วไป ไม่เฉพาะแต่การหลวง แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์อันใดเกี่ยวเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่าตรงกับคำที่ว่าลอยโคมลงน้ำเช่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ควรนับได้ว่าเป็นราชประเพณีซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ..”(น.๒๒)
และความในพระราชนิพนธ์ช่วงนี้ยังมีพระราชาธิบายที่ยืนยันถึงข้อความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า “…การลอยประทีปที่ว่าในกฎหมายนี้มีเนื้อความเข้ากับเรื่องนางนพมาศ ซึ่งว่าท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นท้าวพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณราช คือพระร่วง ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่กรุงตั้งอยู่ ณ เมืองสุโขทัย ได้กล่าวไว้ว่า ในเวลาฤดูเดือนสิบสอง เป็นเวลาเสด็จประพาสในลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในตามเสด็จในเรือพระที่นั่งทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ซึ่งราษฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี เมื่อนางนพมาศได้มารับราชการจึงได้คิดอ่านทำกระทงถวายพระเจ้าแผ่นดินเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล… มีข้อความที่พิศดารยืดยาว เนื้อความก็คล้ายคลึงกันกับจดหมายถ้อยคำขุนหลวงหาวัดซึ่งได้กล่าวว่าพระเจ้าแผ่นดินกรุงเก่าหรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้นเอง…” (น๒๒–๒๓)
  
 
จากความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์และพระราชพิธีสิบสองเดือนที่กล่าวมานี้ อาจสรุปได้ว่า “โคมลอย” ของนางนพมาศนั้นคือกระทงที่รองรับประทีป การที่นำ”โคมลอยที่ว่านี้ไปลอยน้ำก็เรียกว่า “ลอยโคม” ดังในพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเรียกว่า “ลอยพระประทีป” และการลอยพระประทีปหรือลอยกระทงนี้อย่างน้อยก็มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ที่น่าสังเกตก็คือพระราชาธิบายที่ว่า การลอยกระทงนี้ “… แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์พิธีพราหมณ์อันใดเกี่ยวเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่าตรงกับคำที่ว่าลอยโคมลงน้ำเช่นที่กล่าวมาแล้ว…”
และเมื่อพิเคราะห์ดูความจากบทพระราชนิพนธ์ในตอนที่กล่าวถึงเทียนที่จุดในพระราชพิธีจองเปรียงนั้น ทรงกล่าวว่า “…แต่ถึงว่าโคมชัยที่อ้างว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธบาทดังนี้แล้ว ก็ยังเป็นพิธีของพราหมณ์พวกเดียว คือตั้งแต่เริ่มพระราชพิธี พราหมณ์ก็เข้าพิธีที่โรงพิธีในพระบรมมหาราชวัง และเวลาเช้าถวายน้ำพระมหาสังข์ตลอดจนวันลดโคม เทียนซึ่งจุดในโคมนั้นก็ทาเปรียง คือไขข้อพระโคซึ่งพราหมณ์นำมาถวายทรงทา การที่บูชากันด้วยน้ำมันไขข้อพระโคนี้ก็เป็นลัทธิพราหมณ์แท้ เป็นธรรมเนียมสืบมาจนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า การพระราชพิธีทั้งปวงควรจะให้เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาทุกๆ พระราชพิธี …” (น.๙)
 
ส่วนขนาดของกระทงนั้น นอกเหนือจากกระทงของนางนพมาศที่ใหญ่เท่ากงระแทะคือกงเกวียนแล้ว ในพระราชพิธี ๑๒ เดือนให้คำอธิบายสรุปรวมได้ว่ากระทงหลวงซึ่งสำหรับทรงลอยที่มีมาแต่เดิมนั้น คือเรือรูปสัตว์ต่างๆ ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทงหลวงสำรับใหญ่ที่ทำถวายนั้น “…ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้างแปดศอกบ้าง เก้าศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอดสิบศอกสิบเอ็ดศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ …(น.๒๙) ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ขนาดใหญ่ที่ลอยน้ำได้ และในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นมีการใช้เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชและเรือชัยแทนกระทงใหญ่สองลำ ตั้งเทียนขนาดใหญ่และยาวตามกระทงเรือทุกกระทง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีการใช้เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์แทนเรือชัย และยังมีกระทงขนาดใหญ่ที่ตกแต่งอย่างอลังการอีกด้วย แต่ก็ไม่โปรดให้จัดทำทุกปี
 
ส่วนการลอยพระประทีปนั้นเห็นได้ว่ามีถึงปีละ ๒ ครั้ง โดยมีพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “… จะขอว่าแต่กรุงเทพฯนี้ การลอยประทีปเดือน ๑๒ เป็นการใหญ่กว่าลอยประทีปในเดือน ๑๑ ด้วยอากาศปราศจากฝน…”(น.๒๔) และ “… พิธีลอยพระประทีปกลางเดือน ๑๑ ก็เหมือนกับลอยพระประทีปในเดือน ๑๒ ซึ่งมีข้อความพิศดารแจ้งอยู่ในพระราชนิพนธ์พิธีประจำเดือน ๑๒ ผิดกันแต่เดือน ๑๑ ไม่มีกระทงใหญ่…” (น.๖๓๙) น่าสังเกตว่าในพระราชพิธี ๑๒ เดือน นี้ ทรงจำแนกว่า “ประทีป”และ”กระทง” เป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับทรงลอยที่ต่างกัน โดยที่”กระทง”ที่ทรงกล่าวถึงนั้นมีขนาดใหญ่มาก แต่เสียดายที่ในพระราชนิพนธ์ดังกล่าวไม่ได้บอกขนาดของพระประทีปที่ทรงลอยไว้ด้วย คาดว่า“พระประทีป”ที่ทรงลอยน่าจะมิได้มีขนาดใหญ่โตเหมือนกระทง แต่อาจจะมีขนาดใกล้เคียงกับกระทงของนางนพมาศก็ได้

เมื่อยกเอาความทุกส่วนที่กล่าวแล้วมารวมกันเพื่อสรุป ก็จะเห็นได้ว่า การ”ลอยโคม” หรือ ”ลอยกระทง”ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วนี้ เป็นประเพณีที่มิใช่ทั้งพิธีพราหมณ์หรือพิธีในพุทธศาสนา แต่การลอยกระทงซึ่งเป็นการลอยโคมอันเป็นเครื่องสักการะเพื่อให้ไปบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งปรากฏอยู่ที่ริมฝั่งน้ำนมทานทีดังกล่าว เป็นคติที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้เอง แต่ความที่ยังคงค้างใจก็คือประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สรุปว่า “โคมลอย”หมายถึงประทีปที่จุดไฟแล้ววางบนกระทงและปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ แต่ทุกวันนี้ก็ยังมี”โคมลอย”ที่มีลักษณะเป็นลูกโป่งขนาดใหญ่ทำด้วยกระดาษบางเบาที่ปล่อยให้ลอยไปบนฟากฟ้านั้น คืออะไรกันแน่
 
คำอธิบายที่เก่าที่สุดที่กล่าวถึง “โคมลอย” ในแง่โคมที่ลอยฟ้านั้น พบใน หนังสืออักขราภิธานศรับท์ Dictionary of the Siamese Language by Dr.B.Bradley Bangkok 1873 หรือพจนานุกรมภาษาสยามที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ โดยกล่าวว่า “โคม, คือประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้แสงสว่าง,ทำด้วยแก้วบ้าง, ทำด้วยเกล็ดปลาบ้าง.” และ “โคมลอย, คือประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่าง, แล้วควันไฟก็กลุ้มอบอยู่ในนั้น, ภาโคมให้ลอยขึ้นไปได้,บนอากาษ.”(น.๑๐๕) คำอธิบายดังกล่าวนี้สอดคล้องกับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ว่า “ โคมลอย น. ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ.” และพจนานุกรมฉบับนี้ได้ให้ความหมายของเครื่องใช้อีกอย่างหนึ่งว่า “ตะเกียง น. เครื่องใช้สำหรับตามไฟ มีรูปต่างๆ บางชนิดมีหลอดบังลม, ลักษณะนามว่า ดวง” โดยคำอธิบายของพจนานุกรมทั้งสองฉบับนี้ ชวนให้เข้าใจว่า “โคมลอย” ควรจะให้ความสว่างได้ด้วย
 
ส่วนในพระราชพิธี ๑๒ เดือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีชวด พ.ศ.๒๔๓๑ นั้น มีข้อความส่วนที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์อธิบายศัพท์แผลงว่า “โคมลอย”มีความหมายเดียวกับ “โพยมยาน” และโพยมยานแปลมาจาก air ship คือยานที่ลอยไปในอากาศได้โดยใช้อากาศร้อนหรือแก๊สที่เบากว่าอากาศยกเอายานนั้นลอยไปได้ แต่เมื่อเทียบกับคำแปลของหมอแบรดเลย์แล้ว “โพยมยาน”ในที่นี้น่าจะหมายถึง balloon มากกว่า ยิ่งในคำอธิบายในหน้า ๖๔๓ ที่ว่า “โคมลอย”ในที่นี้ “…มาแต่หนังสือพิมพ์ตลกของอังกฤษที่ชื่อว่า ฟัน (Fun-ผู้เขียน) ที่ใช้รูปโคมลอยอยู่หลังใบปก หนังสือพิมพ์นั้นเล่นตลกเหลวไหลไม่ขบขันเหมือนหนังสือพิมพ์ตลกอย่างอื่น คือ ปันช เป็นต้น จึงเกิดคำติกัน เมื่อใครเห็นเล่นตลกไม่ขบขัน จึงว่าราวกับหนังสือพิมพ์ฟัน บ้างว่าเป็นโคมลอย (เครื่องหมายของหนังสือนั้น) บ้างจะพูดให้สั้นจึงคงไว้แต่”โคม”…” จากประเด็นดังกล่าวนี้ “โคมลอย”ตามนัยของพระราชพิธี ๑๒ เดือน กับนัยของหนังสืออักขราภิธานศรัพท์แม้จะดูเหมือนว่าไม่ตรงกัน แต่ก็พอจะอธิบายให้เห็นได้ว่าเป็นวัตถุทรงกลมที่อาศัยความร้อนที่กักไว้ภายในพยุงให้ลอยไปในอากาศได้
 
คลิปวีดีโอลอยโคมยี่เป็ง 
ก็เป็นอันว่า “โคมลอย” ของนางนพมาศนั้นลอยน้ำ แต่”โคมลอย”ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และของหมอแบรดเลย์นั้น ลอยฟ้า พอบอกว่า “โคมลอย”นั้นลอยฟ้าได้ ชาวล้านนาก็บอกว่า “แม่นแล้ว” เพราะในวันเพ็ญเดือนสิบสองนั้นนอกเหนือจะมีการ”ตั้งธัมม์หลวง” แล้ว บุคคลที่เกิดในปีจอ ซึ่งควรจะไปนมัสการพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีซึ่งบรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่เชือดออกด้วยพระขรรค์แล้วดำรงเพศนักบวชก่อนจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า แม้อยากไปก็ไปไม่ได้เพราะพระเจดีย์ดังกล่าวอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ชาวล้านนาที่เกิดในปีจอก็อาศัย “โคมลอย” นี้แหละที่ยกเอากระบะเครื่องบูชาลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าไปให้สูงที่สุดเพื่อจะบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ กิจกรรมดังกล่าวนี้สอดคล้องกับพระบรมราชาธิบายที่ว่า “…การยกโคมขึ้นนั้น ตามคำโบราณกล่าวว่ายกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม การซึ่งว่าบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามนี้เป็นต้นตำราแท้ในเวลาถือไสยศาสตร์ แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าทรงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในดาวดึงสพิภพและบูชาพระพุทธบาทซึ่งปรากฏอยู่ ณ หาดทรายที่เรียกว่านะมะทานที เป็นที่ฝูงนาคทั้งปวงสักการบูชาอยู่…”(พระราชพิธี ๑๒ เดือน น.๙)
 
แต่พอพูดว่าสิ่งประดิษฐ์ที่พาเอากระบะเครื่องบูชาขึ้นฟ้าไปนั้นชื่อว่า “โคมลอย” บรรดาผู้เฒ่าทั้งหลายก็ไม่ค่อยพอใจนัก เพราะสิ่งนั้นในยุคของท่านเรียกว่า ว่าว, ว่าวลม, ว่าวรม/ฮม หรือว่าวฅวัน โดยอธิบายว่าเครื่องเล่นที่ปล่อยให้ลอยในอากาศนั้นเรียกว่า “ว่าว” เมื่อว่าวนั้นใช้ควันเป็นเครื่องช่วยพยุงขึ้นฟ้า ก็เรียกว่าวนั้นว่า ว่าวฅวัน และในกลางคืนที่ใช้ก้อนเชื้อเพลิงแขวนไว้ที่ปากของว่าว ความร้อนจากไฟที่จุดนั้น นอกจากจะยกว่าวให้ลอยฟ้าได้แล้ว ยังมองเห็นไฟที่ลุกและลอยไปในท้องฟ้าแทรกกับกลุ่มดาวได้ ท่านเรียกของท่านว่า ว่าวไฟ พอเห็นเด็กน้อยหนุ่มสาวเรียกสิ่งประดิษฐ์ของท่านว่า “โคมลอย” ท่านก็บอกว่าไม่ใช่ ครั้นถามผู้เฒ่าว่าชาวล้านนาเรียกว่าวของท่านว่าเป็น”โคมลอย”มาแต่เมื่อใด ท่านก็ตอบว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อทหารไทยมาประจำการในล้านนา พอเห็นว่าวฅวันลอยขึ้นฟ้า ก็เรียกว่าสิ่งนั้นคือ ”โคมลอย” เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจสรุปได้ว่า “โคมลอย” ของภาคกลางนั้นทำได้ทั้งลอยฟ้าและลอยน้ำ โดยจุดประทีปโคมไฟให้ลอยไปตามน้ำเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในนาคพิภพ และยกโคมขึ้นให้สูงเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี
 
แล้วชาวล้านนาเล่า มีการจุดประทีปโคมไฟลอยน้ำเพื่อไปบูชาพระพุทธบาทหรือไม่ ผู้เฒ่าก็จะถามว่าลอยประทีปโคมไฟเมื่อใด พอบอกว่าวันเพ็ญเดือนยี่ ท่านก็บอกว่าในวันเพ็ญเดือนยี่นั้นชาวบ้านจะปล่อยว่าวฅวันขึ้นฟ้าในตอนสาย และจุดประทีปโคมไฟตามบ้านเรือนดังที่ปรากฏว่ามีคัมภีร์ชื่ออานิสงส์ผางประทีปบอกถึงผลที่ผู้กระทำจะได้รับจากกการจุดประทีปโคมไฟดังกล่าว และการจุดประทีปโคมไฟนี้ก็สอดคล้องกับการ “เผาเทียนเล่นไฟ” ในกรุงสุโขทัยอีกด้วย ไม่มีธรรมเนียมการลอยกระทงหรือการจุดประทีปโคมไฟลอยน้ำ และผู้เฒ่าจะสำทับว่าพิธีกรรมทั้งหลายของชาวล้านนานั้นจะหันหน้าเข้าวัด ถ้าหันหน้าออกจากวัดไปทำกิจกรรมยังที่อื่นแล้ว พิธีกรรมดังกล่าวนั้นไม่ใปรากฏในวิถีของล้านนา
 
ครั้นถามว่าแล้ว “ลอยกระทง” เริ่มมาแต่เมื่อใด ท่านผู้เฒ่าที่คุ้นเคยกับชีวิตในฅุ้มในวัง โดยเฉพาะ “วังท่าเจดีย์กิ่ว” ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีนั้น เป็นวังที่อยู่ใกล้กับลำน้ำปิง(ปัจจุบันคือสถานกงสุลอเมริกัน) พระราชชายาพระองค์นี้เป็นพระราชชายาซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่าพระมเหสีในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โดยที่พระองค์ท่านเข้ารับราชการในพระบรมมหาราชวังเมื่อชนมายุ ๑๓ ชันษา (พ.ศ.๒๔๒๙)และประทับอยู่ในวังหลวง หลังจากที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ สวรรคตเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ แล้วพระราชชายาฯก็เสด็จมาประทับอยู่ใน “ฅุ้ม” หรือ”วังท่าเจดีย์กิ่ว” ดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ พระราชชายาฯ ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ขนบธรรมเนียมโดยเฉพาะพระราชพิธีต่างๆ เป็นอย่างดี ดังนั้นพระองค์ท่านจึงได้เริ่มการ “ลอยพระประทีป” ในลำน้ำปิง ในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐–๒๔๗๐ แต่”พระประทีป”นอกวังหลวงนี้ทำขึ้นอย่างง่ายๆ จากวัสดุในธรรมชาติ
คือพระองค์ท่านใช้ชิ้นกาบมะพร้าวกว้างขนาดฝ่ามือตัดโค้งงอนตามสัณฐานของมะพร้าวเพื่อทำหน้าที่เป็น “กระทง” วางประทีปลงบน”กระทง”นั้นแล้วจุดไฟและปล่อยให้ลอยไปในคืนวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา (ตรงกับเพ็ญเดือน ๑๒ ของภาคกลาง) สิ่งที่ลอยไปตามสายน้ำนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นการ “ลอยพระประทีป” อย่างง่ายๆ อันจำลองมาจาก”การลอยพระประทีป” และกิจกรรมนี้ก็สอดคล้องกับ”ลอยโคม” หรือ “ลอยกระทงทรงประทีป” ของนางนพมาศอีกด้วย
 
ภายหลังก็มีผู้นิยม”ลอยกระทง”ตามพระราชชายาฯ มากขึ้น ดังพบว่าในครั้งที่นายทิม โชตนา เป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ในช่วง พ.ศ.๒๔๙๐ นั้น ก็ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีการลอยกระทงมากขึ้น และมีการเฉลิมฉลองบริเวณถนนท่าแพ โดยเฉพาะบริเวณหน้าพุทธสถาน การ”ลอยกระทง”แบบกรุงเทพฯนั้นมีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อมีการตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ โดยเริ่มจัดให้มีการลอยกระทงสองวัน คือในวันเพ็ญเดือนยี่ จะลอยกระทงเล็ก และรุ่งขึ้นในคืนแรมหนึ่งค่ำจะมีการลอยกระทงหรือประกวดกระทงขนาดใหญ่ โดยเริ่มที่หน้าเทศบาลเมืองเชียงใหม่ไปสิ้นสุดที่สะพานนวรัฐ และหลังจากนั้นก็มีการลอยกระทงกันอย่างกว้างขวาง ดังที่จะพบว่ามีการประกวดนางนพมาศกันทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ยังมีการทำ “ประตูป่า” อันเนื่องกับการ “ตั้งธัมม์หลวง” อยู่เหมือนกัน แต่ยิ่งมีแสงสีที่กระทงกับประตูป่าและประทีปโคมไฟที่ประดับตามบ้านเรือนถนนหนทาง มีความงามที่ทรงเสน่ห์ของสาวน้อยนางนพมาศมากขึ้น และมีแสงสีจากว่าวไฟที่ลอยฟ้าเจิดจรัสมากขึ้นเท่าใด ความเข้มของวัฒนธรรมใหม่นี้ย่อมมีส่วนขับให้บรรยากาศของการ”ตั้งธัมม์หลวง” และกิจกรรมตามวิถีของล้านนาดั้งเดิมให้โรยแรงลงเพียงนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.lannaworld.com  http://www.loikrathong.net (อุดม รุ่งเรือง)
 


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหมูหิน.คอม
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เกี่ยวกับฉัน

Websiteที่รวบรวมการท่องเที่ยวดี ๆ ที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ